วันเสาร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โครงการในพระราชดำริ

โครงการศึกษาประเมินศักยภาพและพัฒนาแหล่งน้ำบาดาล
เพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
1. ความเป็นมาและปัญหา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความห่วงใยในพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะเกษตรกรในชนบทที่ยากไร้รวมทั้งชาวเขาเผ่าต่างๆราษฎรเหล่านี้ ขาดแคลนที่ทํากินขาดแหล่งน้ำและขาดความรู้ในการเกษตรกรรมที่ดีพอจึงทําให้ไม่สามารถแก้ไขปัญหา ความยากจนของตัวเองได้ ี่พระองค์เสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรหรือได้สดับรับฟังปัญหาก็มักทรงมีพระราชดําริให้การช่วยเหลืออยู่เสมอมาจนเกิดเป็น โครงการในพระราชดําริ โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ และโครงการหลวง ต่างๆ มากมายกระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ
โครงการหลวงเกิดขึ้นจากการเสด็จเยี่ยมราษฎรชาวเขาในภาคเหนือทรง
ทราบถึงปัญหาการตัดไม้ทําลายป่า เผาถ่านทําไร่เลื่อนลอยมีการปลูกข้าวไร่ไว้กินและมีการปลูกฝิ่นไว้ขาย เนื่องจากที่บนเขามีความ ลาดชัน หน้าดินถูกชะล้างโดยง่ายทําให้ดินเสื่อมโทรม ชาวเขาจึงมักย้าย ที่เพาะปลูกโดยการรุกที่ป่าเข้าไป เรื่อยๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดํารให้พัฒนาอาชีพของชาวเขาจากการปลูกฝิ่นเป็นการ ปลูกพืชทดแทนอย่างอื่น เช่น ท้อ โดยจัดตั้งโครงการหลวงขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 เพื่อช่วยเหลือดูแลการพัฒนา ตลอดจนรับซื้อผลผลิตต่อมาจึงได้ มีการวิจัยโดยนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เพื่อนําพืชผักและไม้ดอก จากเมืองหนาว ต่างประเทศมาทดลองปลูกมากมายหลายชนิดและมี การพัฒนาเพิ่มในที่ต่างๆ ถึง 37 ศูนย์ใน 5 จังหวัดภาคเหนื อตอนบน ในปี พ.ศ. 2546 เกษตรกรในพื้นที่ พัฒนาโครงการหลวงมีรายได้จาก การขาย ผลผลิตรวมกันเกือบ 300 ล้านบาท นอกจากการพัฒนาอาชีพและสังคมแล้ว โครงการหลวงยังมีบทบาทสําคัญในการอนุรักษ์ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนต้นน้ำลําธารอีกด้วย
โครงการพระราชดำริ จํานวนมากที่กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นการพัฒนาแบบ ผสมผสานเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ ของราษฎรในชนบท และยังเป็นศูนย์ฝึกอบรมด้านการพัฒนาทาง เกษตรกรรมให้แก่นิสิตนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป โครงการพระราชดําริบางโครงการเป็นการวิจัย พัฒนาสิ่งประดิษฐ์; ที่เกิดจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเช่น กังหันน้ำมูลนิธิชัยพัฒนา การแกล้งดินเพื่อแก้ดินเปรี้ยว การปลูกหญ้าแฝกเพื่อ รักษาหน้าดิน โครงการแก้มลิงหรือการทําเกษตร อย่างพอเพียง ฯลฯ
โครงการพัฒนาส่วนพระองค์เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวที่ทรงใช้ พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดให้มีโครงการพัฒนาบนพื้นที่ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นการพัฒนาด้านเกษตรกรรมตามแนวทาง เกษตรทฤษฎีใหม่ สนับสนุนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้ง เพื่อให้เป็นสถานที่ ทดลอง ค้นคว้า ศึกษา อบรมให้แก่ เกษตรกร และนิสิตนักศึกษาในด้านการพัฒนาสร้าง รูปแบบการประกอบอาชีพของชุมชนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมเพื่อให้เกษตรกร ในพื้นที่ใกล้เคียงและ ผู้สนใจได้ นําไปถือปฏิบัติเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรและเกษตรกรที่ยากจนให้มีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น
กรมทรัพยากรน้ำบาดาลเป็นหน่วยงานด้านวิชาการและปฏิบัติที่มีภารกิจในการศึกษา ค้นคว้าวิจัย บริหารจัดการ ควบคุมดู แล อนุรักษ์ ฟื้นฟู และทรัพยากรน้ำบาดาล ได้รับการติดต่อประสานงานจาก สํานักงานจั ดการทรัพย์ สินส่ วนพระองค์ ให้สนับสนุนการพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับกิ จกรรมต่ างๆ ของ โครงการในพื้นที่โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ อย่างต่อเนื่องกันมา และกรมทรัพยากรน้ำบาดาลก็ได้ ใช้ หลักวิชาการในการพัฒนาน้ำบาดาล ได้แก่ การศึกษาประเมินศักยภาพ พัฒนาแหล่งน้ำบาดาล ตลอดจน สร้างเครือข่ายติดตามเผ้าระวังผลกระทบที่อาจติดตามมาจากการใช้ น้ำนอกจากนี้ แล้ว ยังใช้เป็นต้นแบบ สําหรับการพัฒนาน้ำบาดาลของพื้ นที่ใกล้เคียงที่ มี สภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน ที่จะนําแนวทางไป พัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อกิจกรรมทางการเกษตรตามแนวทางเกษตรทฤษฎีใหม ่ต่อไป
ในปีงบประมาณ 2549 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลมีเป้าหมายที่จะดําเนินพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อ สนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ในพื้นที่ 5 โครงการ ซึ่ งได้มีการสํารวจเบื้องต้นและเห็นว่ามี ความต้องการน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และเพื่อกิจกรรมของโครงการเหล่านั้น
2. วัตถุประสงค์
1. เพื่อพัฒนาน้ำบาดาลสําหรับการอุ ปโภค บริโภค และเพื่อการเกษตรกรรมให้ แก่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริ โครงการส่วนพระองค์ หรือโครงการหลวง เพื่อให้ราษฎรในพื้นที่โครงการได้ความ เป็นอยู่ที่ดียิ่งขึ้น
2. เพื่อศึกษาประเมินศักยภาพน้ำาบาดาลขั้นรายละเอียด และพัฒนาน้ำบาดาลให้แก่โครงการอัน เนื่องมาจากพระราชดําริต่ างๆ พร้อมจัดสร้างเครือข่ายติดตามเฝ้าระวัง สํ าหรับการบริหารจั ดการแหล่งน้ำ บาดาลตามหลักวิชาการ โดยให้ผลการศึกษาเป็นต้นแบบสําหรับนําไปประยุกตฺ์ใช้ในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพ อุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
3. ประโยชน์
1) ราษฎรในพื้นที่โครงการได้มีน้ำพื่อการอุโภค บริโภค และเพื่อการเกษตร อย่างพอเพียง มีแหล่งน้ำ สําหรับการเกษตรในฤดูแล้ง
2) ทําให้ทราบศักยภาพน้ำบาดาลของแอ่งน้ำบาดาล สําหรับการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค ซึ่งเป็น ข้อมูลสําคัญในการวางแผนเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตของแต่ละโครงการ
3) มีการตรวจสอบและติดตามสภาพน้ำบาดาลที่อาจได้รับผลกระทบ ทั้งในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง เพื่อป้องกันวิกฤตการณ์น้ำบาดาล
4) เกษตรกรนอกโครงการสามารถนําผลที่ได้จาการศึกษา ไปออกแบบและก่อสร้างระบบการจ่ายน้ำเพื่อ การเกษตรกรรมในพื้นที่ใกล้เคียงที่มีสภาพอุทกธรณีวิทยาคล้ายคลึงกัน
4.งานที่ปฎิบัติ กิจกรรมหลัก และผลผลิต


โครงการฝายคลองช่องเรือ (อันเนื่องมาจากพระราชดําริ) ตําบลทรายขาว อําเภอโคกธิ์ จังหวัดปัตตานี



ที่ตั้งโครงการ
หมู่ที่ ตําบลทรายขาว อําเภอโคกธิ์      จังหวัดปัตตานี
 ประวัติโครงการ
                    สํานักราชเลขาธิการ พระบรมมหาราชวังได้มีหนังสือที่ รล0005/13381 ลงวันที่ 24 กันยายน  2544    เรียนเลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ เพื่อพิจารณาเสนอความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ  เพื่อจักได้นำความถวายบังคมทูลพระกรุณาประกอบพระราชดำริต่อไปโดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงาน โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ได้มีหนังสือที่  นร  1108/2098  ลงวันที่ 11 ตุลาคม 2544 ขอให้กรมชลประทานพิจารณา กรณี นายอาดัม    บาเหมบูงา ประธานกรรมการองค์การบริหารส่วนตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี ได้มีหนังสือลงวันที่ 11 กันยายน  2544  ถึงสํานักราชเลขาธิการ  ขอให้นําความกราบบังคมทูลพระมหากรุณาให้ทางราชการช่วยแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเนื่องจากขาดแคลนน้ำสําหรับอุปโภค-บริโภค    จากโครงการประปาภูเขา   ช่องเรือ  ของราษฎรจำนวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1, 2, 3 และ 5 ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
                    สํานักชลประทานที่ 16 ร่วมกับสํานักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริและราษฎรที่ประสบความเดือดร้อนร่วมกันตรวจสอบสภาพพื้นที่และศึกษาข้อมูลต่าง  ๆ ในสภาพภูมิประเทศจริงแล้วเห็นว่ามีลู่ทางช่วยเหลือราษฎรที่ประสบความ เดือดร้อนได้โดยการก่อสร้าง  ฝายคลองช่องเรือทดแทนทํานบคอนกรีตเดิมที่ชํารุด พร้อมระบบท่อส่งน้ำ และถังอุปโภค-บริโภค เพื่อส่งน้ำช่วยเหลือการอุปโภค-บริโภค ของราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนดังกล่าว
                    ได้นําความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทแล้วและทรงรับเป็นโครงการพระราชดําริ ตามหนังสือสํานักราชเลขาธิการที่ รล 0005.5/18753 ลงวันที่ 4 ธันวาคม 2545
วัตถุประสงค์
                    เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำสําหรับอุปโภค - บริโภคช่วงฤดูแล้งให้มีน้ำอุปโภค - บริโภคได้เพียงพอ ตลอดปีและสามารถเพาะปลูกตามแนวท่อส่งน้ำได้ ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจํานวน 4 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 บ้านใหญ่ หมู่ที่ 2 บ้านหลวงจันทร์ หมู่ที่ 3 บ้านทรายขาวออก หมู่ที่ 5บ้านทรายขาวตก ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี จํานวน 526 ครัวเรือน ประชากร
รายละเอียดโครงการ
- ที่ตั้งหัวงานพิกัด  47 NQH 331-361 ระวาง 5,222 III
- พื้นที่รับน้ำ   ประมาณ 3,800 ตร.กม.  ปริมาณฝนเฉลี่ย  1,227.04 มม.
 ลักษณะโครงการ
- ก่อสร้างฝายสูง 2.00 เมตร จํานวน 1 แห่ง
- ก่อสร้างถังเก็บน้ำ 1,600 ลูกบาศก์เมตร
- ถังกรองน้ำ - ถังเก็บน้ำความจุ 10 ลูกบาศก์เมตร จํานวน 11 แห่ง
- ท่อส่งน้ำ  0.25  เมตร 0.15 เมตร และ0.055 เมตร ความยาวรวม 12,325 เมตร
ระยะดําเนินการ
ดําเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จใน ปี 2547
งบประมาณในการก่อสร้าง
งบประมาณที่ได้รับ 22,906,000 บาท
 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                    สามารถส่งน้ำเพื่อการอุปโภค - บริโภค ให้แก่ราษฎรในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 บ้านใหญ่ , หมู่ที่ 2 บ้านหลวงจันทร์ , หมู่ที่ 3 บ้านทรายขาวออก และหมู่ที่ 5 บ้านทรายขาวตก  ตําบลทรายขาว อําเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี  จํานวน  526  ครัวเรือน  จํานวนประชากรประมาณ  1,798  คน  มีน้ำใช้สําหรับอุปโภค - บริโภค ได้ตลอดทั้งปี



โครงการพัฒนาพื้นที่พรุแฆแฆ อันเนื่องมาจากพระราชดําริ อําเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี



ประวัติโครงการ
                    เมื่อวัน ที่ 30     กันยายน 2535     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดําเนินทอดพระเนตร สภาพบริเวณ ลุ่มน้ําคลองน้ําจืด - คลองแฆแฆ อําเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นพื้นที่เสื่อมโทรมและมีน้ำท่วมขังเกือบทั้ง ปี จึงได้พระราชทานพระราชดําริ เกี่ยวกับงานชลประทาน ให้พิจารณาวางโครงการ  ก่อสร้าง ขุดลอกคลองระบายน้ําและอาคารบังคับน้ํา เพื่อระบายน้ําท่วมขังออกจากพื้นที่และเก็บกักน้ําจืดไว้ให้เกษตรกรใช้ทําการเพาะปลูก และอุปโภคบริโภคตลอดปี
                     ตั้งแต่ ปี 2536- 2543 โครงการก่อสร้าง ที่ 7 สํานักพัฒนาแหล่งน้ำ 5(เดิม) กรมชลประทานได้ดําเนินการก่อสร้างงานระบบระบายน้ําและงานระบบส่งน้ํา ซึ่งประกอบด้วย คลองระบายน้ําพร้อมอาคารประกอบ ขุดลอกคลอง และสร้างถนนเลียบคลองพร้อมอาคารประกอบ ปรับปรุงอาคารบังคับน้ํา สร้างสถานีสูบน้ํา รวมทั้งสร้างระบบส่งน้ํา โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ประมาณ 40,000 ไร่ ครอบคลุมเขตอําเภอปะนาเระ และอําเภอสายบุรีของจังหวัดปัตตานี
                    เพื่อรองรับการใช้น้ำในกิจกรรมต่อเนื่องให้เกิดประโยชน์สูงสุด จังหวัดจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการ  และคณะทํางานโครงการพัฒนาอาชีพการเกษตรพื้นที่พรุแฆแฆ  อันเนื่องมาจากพระราชดําริฯ  ขึ้น  เมื่อเดือนมิถุนายน  2541 โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดฝ่ายเศรษฐกิจเป็นประธานกรรมการบริหาร  และมีเกษตรและสหกรณ์  จังหวัดเป็นเลขานุการ  ส่วนคณะทํางานมีเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเป็นเลขานุการ ส่วนคณะทํางานมีเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเป็นประธาน และหัวหน้าฝ่ายประสานราชการและบริหารทั่วไป สํานักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเป็นเลขานุการ ซึ่งต่อมาได้ปรับปรุงคณะกรรมการและคณะกรรมการและคณะทํางานดังกล่าวให้สอดคล้องเหมาะสมกับภารกิจอีก 2 ครั้ง เมื่อเดือน มิถุนายน 2542 และเดือนพฤศจิกายน 2544
วัตถุประสงค์โครงการ
                    วัตถุประสงค์ของโครงการพัฒนาพื้นที่พรุแฆแฆ (อันเนื่องมาจากพระราชดําริ) อําเภอปะนาเระ อําเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
                    - เพื่อระบายน้ําออกจากพื้นที่พรุ
                    - เพื่อเก็บกักน้ําไว้สําหรับการเพาะปลูกและอุปโภค บริโภค
                    - เพื่อพัฒนาพื้นที่บริเวณพรุให้สามารถทําการเพาะปลูกหรือใช้ประโยชน์
                    - เพื่อเป็นแหล่งแพร่เพาะและขยายพันธ์ปลาน้ําจืด
                    - เพื่อป้องกันน้ําเค็มไม่ให้ไหลเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูก
 ลักษณะทั่วไปและที่ตั้ง
                     ที่ตั้งของโครงการพัฒนาพื้นที่พรุแฆแฆ (อันเนื่องมาจากพระราชดําริ)  ตั้งอยู่ในระหว่างละติจูด ที่ 06,  42,N  และ 06,  50,  N  พิกัด 47NQH  830-561  แผนที่มาตราส่วน 1:50,000  ระวาง 5322  IV    อยู่ในเขตหมู่ ที่1 บ้านแฆแฆ ตําบลน้ําบ่อ อําเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตา นี การเดินทางเข้าไปยังหัวงานสามารถเดินทางโดยรถยนต์ จากจังหวัดปัตตานีไปอําเภอปะนาเระ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  42 (ปัตตานี - นราธิวาส)  ระยะทางประมาณ  43 กิโลเมตร  ถึงอําเภอปะนาเระ  แล้วเลี้ยวขวาไปทางบ้านเก่าระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงที่ตั้งหัวงาน รวมระยะทางจากปัตตานีทั้งสิ้น 50 กิโลเมตรโครงการพัฒนาพื้นที่พรุแฆแฆ (อันเนื่องมาจากพระราชดําริ) มีสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม และบางส่วนจะเป็นพรุน้ำท่วมขัง มีลักษณะที่ดินลาดเทจากแนวเทือกเขา ทางทิศตะวันตก ไปทางทิศตะวันออกสู่ฝั่งทะเลอ่างไทยมีคลองธรรมชาติหลายสายที่รับน้ําจากพื้นที่ราบลงสู่ทะเล คลองสายสําคัญ มี สาย คือ คลองน้ําจืด และคลองแฆแฆ ทําหน้าที่เป็นทั้งคลองระบายน้ําในช่วงฤดูฝน และช่วยเก็บน้ําไว้ในลําน้ำช่วงฤดูแล้ง
 ลักษณะโครงการ
                     โครงการพัฒนาพื้นที่พรุแฆแฆ (อันเนื่องมาจากพระราชดําริ) ประกอบด้วยลักษณะงาน ลักษณะ คือ
                    1. งานระบายน้ำ
                    ก . ระบบระบายน้ําและเก็บกักน้ํา ประกอบด้วย
                               - คลองระบายน้ําและเก็บกักน้ําพรุแฆแฆสายตะวันออก ความยาว 14.70
กิโลเมตร พร้อมอาคารประกอบ
                              - คลองแฆแฆ ความยาว 3.502 กิโลเมตร พร้อมอาคารประกอบ
                              - คลองบ้านเคียน ความยาว 2.20 กิโลเมตร พร้อมอาคารประกอบ
                      . อาคารบังคับน้ํา
                              - อาคารบังคับน้ําปากคลองระบายน้ําและเก็บกักน้ําพรุแฆแฆตะวันออก
ขนาด 3-    2.40x2.00 เมตร สามารถระบายน้ําได้ 24 ลูกบาศเมตรต่อวินาท
                              - อาคารบังคับน้ํากลางคลอง (ทรบ.บ้านบางหมู) ขนาด 3-  2.75x 2.50เมตร จํานวน 1 แห่ง และขนาด 4- 2.00x  2.00  เมตร จํานวน 1 แห่ง รวมจํานวน 2 แห่ง สามารถระบายน้ําได้ 58 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาท
                              - อาคารบังคับน้ําปลายคลองแฆแฆ (ปตร.แฆแฆ ) ขนาดกว้าง 6.00 เมตร  จํานวน 2 ช่วง สามารถระบายน้ําได้ 58 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาท 
                      . สถานีสูบน้ําและท่อผันน้ําจากแม่น้ำสายบุรี 
   0.50                                 - สถานีสูบน้ำจากแม่น้ำสายบุรีขนาด เมตร จํานวน 4 เครื่อง(มอเตอร์ไฟฟ้า) สามารถสูบน้ําได้ 0.9 ลูกบาศก์ เมตรต่อวินาท
                              - ท่อผันน้ํา เป็นท่อยางชนิดเหนียว
1.20 เมตร ยาว5.399 กิโลเมตร (HDPE)  ขนาด 1-
                     2. งานระบบส่งน้ำ
                              - โรงสูบน้ำย่อย จากคลองระบายน้ําและเก็บกักน้ําพรุแฆแฆตะวันออก มีจํานวน 27   แห่ง 4.00 นิ้ว (เครื่องยนต์ดีเซล) จํานวน 58 เครื่อง เครื่องสูบน้ําขนาด สามารถสูบน้ำได้ 0.30 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีต่อเครื่อง
                              - คูส่งน้ําจากโรงสูบน้ําย่อย ความยาวรวม 34.235 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่รับประโยชน์  5,512 ไร่ แยกเป็นในเขตพื้นที่
                              - อําเภอสายบุ รี จํานวน 2,683 ไร่ (ตําบลปะเสยะวอ จํานวน 1,155 ไร่และ ตําบลบางเก่า จํานวน 1,528 ไร่
                              - อําเภอปะนาเระ จํานวน 2,829 ไร่ ในเขตพื้นที่ตําบลน้ำบ่อ
 ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
                    สามารถช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรของราษฎร ในเขตพื้นที่โครงการให้มีศักยภาพในการทําการเพาะปลูกนาข้าว  พืชผัก  สวนผลไม้ การประมง และเลี้ยงสัตว์ได้ ซึ่งครอบคลุมพื้น  ที่ อําเภอ  คือ  อําเภอ ปะนาเระ และอําเภอสายบุ รี จังหวัดปัตตานี จำนวน 5,512 ไร่

สภาพปัญหา และอุปสรรคในการบริหารจัดการน้ำ

                    1. ปัญหาทั่วไปในพื้นที่โครงการ  อันเนื่องจากเป็นโครงการที่ทําการพัฒนาในพื้นที่ราบลุ่ม ปัญหาการระบายน้ําจึงมีบทบาท  สําคัญ และจะต้องควบคุมระดับน้ำใช้การให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม อีกทั้งจะต้องคํานึงถึงค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำ  (ไฟฟ้า) จากแม่น้ำสายบุรี ส่งมายังคลองพรุแฆแฆ  ตะวันออกด้วย  จากประเด็นเหล่านี้พอสรุปสภาพปัญหาได้ดังนี้
                              1.1 ขาดระบบระบายน้ำโดยน้ำที่เหลือจากกิจกรรมการใช้น้ำของเกษตรกรไม่สามารถระบาย  ลงสู่คลองระบายน้ำประกอบกับในช่วงฤดูฝนก็เกิดปัญหาน้ำท่วมขังพื้นที่การเกษตรของเกษตรกร
                              1.2 ขาดระบบทดน้ํากลางคลองพรุแฆแฆตะวันออก เพื่อเก็บกักน้ําและการทําน้ําเป็นช่วง ซึ่งจะต้องสูบน้ำเป็นปริมาณมากตลอดสายคลอง เพื่อยกระดับน้ำใช้การให้อยู่ในระดับที่ต้องการ ซึ่งในบางเวลา  มีความต้องการใช้น้ำเฉพาะช่วงต้นคลองเท่านั้น
                              1.3 ขาดระบบส่งน้ำเพื่อช่วยในการส่งน้ำกระจายให้แก่พื้นที่การเกษตรของราฎรที่ขยายเพิ่มพื้นที่ทําการเกษตรมากขึ้น
                              1.4 ตามแผนของโครงการเดิม ได้วางแผนนําน้ําจากคลองน้ำจืด เข้ามาเติมในระบบคลองพรุแฆแฆตะวันออก แต่ในสภาพปัจจุบันคลองน้ำจืดได้รับผลกระทบจากอิทธิพลของน้ําทะเล จึงไม่สามารถนําน้ำมาใช้ประโยชน์ได้ ทําให้ต้องสูบน้ำจากแม่น้ำสายบุรีเพียงแห่งเดียว
                              1.5 ราษฎรยังเปิดพื้นที่การเกษตร ตามแนวคลองพรุแฆแฆตะวันออกน้อยเพียงเฉพาะแห่งเท่านั้นทําให้การสูบน้ำเพื่อเติมลงในคลองพรุแฆแฆตะวันออกในแต่ละครั้งจะต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นมากเพราะต้องสูบน้ําเติมในคลองพรุแฆแฆตะวันออกตลอดทั้งสาย
                              1.6 สภาพปัจจุบันคลองพรุแฆแฆตะวันออก มีสภาพตื้นเขินและวัชพืชขึ้นปกคลุมจํานวนมากเป็นอุปสรรคในการระบายน้ำ
                              1.7 สภาพพื้นที่เดิม ลักษณะเป็นพื้นที่พรุ มีน้ำท่วมขัง ทําให้ดินมีสภาพขาดธาตุอาหาร และอุ้มน้ำได้น้อย และมีสภาพเป็นกรด
                              1.8 เนื่องจากราษฎรมีฐานะยากจน มีอาชีพทางด้านทําการประมง และไม่มีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มพูนรายได้ โดยเฉพาะช่วงว่างเว็นจากการประกอบอาชีพตามข้อจํากัดของฤดูกาล ทําให้รายได้มีจํากัดไม่เพียงพอ อีกทั้งเกษตรกรมีพื้นที่ทํากินน้อยโดยเฉลี่ย 5 ไร่ต่อครัวเรือนและอยู่กระจัดกระจายไม่รวมเป็นผืนเดียวกัน


วันอังคารที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ตอนรับเพื่อนๆ...ในโอกาศเปิดเรียนใหม่ 2554



สวัสดีเพื่อนๆสบายดีนะ
ว่างๆแวะมาหากันหน่อยนะครับ 
เราคิดว่าคงสวยๆหลอๆกันทุกคนนะ
........................จากคนที่หน้าตาดีที่สุด...........................